เอริก แคล็ปตัน Eric Clapton นักกีต้าร์ระดับโลก
ซึ่งกลับใจหลังติดเหล้ามานาน หวังอย่างยิ่งที่จะช่วย
ผู้เสพติดคนอื่นๆ
บำบัด
สไตล์ร็อก
เครื่องปรับอากาศพ่นลมเย็นแรงสุดขณะที่คนดีมีชื่อเสียงนับร้อยนั่งสบายในงานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อหาทุนการกุศลที่ศูนย์วัฒนธรรมของอันติกัว ก่อนเสิร์ฟอาหาร เซอร์วิเวียน ริชาร์ด ลูกหลานคนหนึ่งซึ่งสร้างชื่อเสียงใหแก่เกาะในทะเลแคริเบียนแห่งนี้ ลุกขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ซึ่งกลับใจหลังติดเหล้ามานาน หวังอย่างยิ่งที่จะช่วย
ผู้เสพติดคนอื่นๆ
บำบัด
สไตล์ร็อก
ขณะเดียวกันที่ภายนอกบริเวณงานอากาศร้อนอบอ้าว ชีวิตอีกด้านของเกาะอันติกัวยังคงดำเนินไปตามปกติ ผู้ติดยาที่ชุมชนแออัดเกรย์ฟาร์มไม่เคยสนใจอาคารศูนย์วัฒนธรรมตระหง่านสีขาวที่อยู่ติดกัน แต่ใจจดจ่ออยู่แค่การวิ่งหาเงินสิบเหรียญมาซื้อโคเคนสูตรแรงพิเศษก้อนต่อไป
ตรงข้ามท่าเทียบเรือสำราญซึ่งมาส่งผู้โดยสารขึ้นฝั่งแวะเที่ยวชมเกาะราวสองสามชั่วโมง ชายสามสี่คนจากบาร์กำลังอาเจียนลงท่อระบายน้ำ แถบนี้มีลมพายุพัดผ่านเป็นประจำ แต่ยังไม่แรงพอจะทำให้กลิ่นอายของแอลกอฮอล์ผสมกลิ่นผักและผลไม้เน่าจางหายได้
จะว่าไปแล้ว คนติดโคเคนและขี้เมากับแขกเหรื่อในศูนย์วัฒนธรรมค่ำวันนั้น ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกันได้ แต่สุนทรพจน์ของเซอร์วิเวียนกล่าวถึงความจำเป็นต้องใช้เงินบริจาคเพื่อสร้างบ้านพักชั่วคราวให้ผู้ติดยาและเหล้าที่เข้ารับการบำบัดฟื้นฟูกล่าวกันว่า ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการนี้เป็นนักกีต้าร์เพลงร็อกผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน
เดือนตุลาคม 2541 เอริก แคล็ปตัน นักดนตรีวัย 54 ผู้สร้างผลงานโด่งดังมากมายตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ทำพิธีเปิดคลีนิกผู้ติดยา "ครอสโรดส์" (CrossRoads) ซึ่งตั้งชื่อตามเพลงของโรเบิร์ต จอห์นสัน นักร้องเพลงบลูส์ที่เขาชื่นชอบ แคล็ปตันเคยติดยามาก่อนและวันนี้ต้องการช่วยบำบัดผู้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและติดยาเสพติด โดยทุ่มเงิน 8 ล้านปอนด์หรือราว 480 ล้านบาทสร้างคลินิกบำบัดขึ้น
แคล็ปตันเปิดคลินิกบนเกาะอันติกัวที่เขาพักอาศัยอยู่ทุกวันนี้เพื่อตอบแทนชาวบ้าน ซึ่งเคยให้ที่พักพิงแก่เขาเมื่อเผชิญมรสุมชีวิตอย่างหนักหลายครั้ง
อันติกัวเป็นเกาะเล็กๆ มีประชากรเพียง 66,000 คน และว่ากันว่ามีชายหาดครบ 365 แห่งให้ไปได้ไม่ซ้ำตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นภาพมายาสำหรับนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่ไปเยือนแดนสวรรค์แห่งนี้ "เมื่อก่อน ผมมาเพื่อดื่มและเสพยาแบบหัวราน้ำ" แคล็ปตันเล่า "ที่นี่เหมือนสวรรค์ หาซื้อยาที่ต้องการได้ทุกชนิด และทุกหนึ่งในสองคนบนเกาะจะติดเหล้างอมแงม"
แคล็ปตันสารภาพว่าเริ่มเสพยาสมัยเป็นนักศึกษาศิลปะ ในปี 2512 เขาดื่มวอดก้าวันละสองขวด ปี 2517 ติดเฮโรอินอย่างหนัก โรคพิษสุราเรื้อรังและการติดยามีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อแพตที บอยด์ ภรรยารวมทั้งสมาชิกในครอบครัว หุ้นส่วนทางธุรกิจ และดนตรี ชีวิตแต่งงานลุ่มๆ ดอนๆ พังครืนหลังเก้าปี
"เวลากลับจากผับ บางครั้งผมจะอารมณ์ดี แต่บางทีก็ทุบทำลายข้าวของ" แคล็ปตันเล่า "ผมไม่คำนึงถึงความรู้สึกของคนอื่นเลยแม้แต่น้อย"
การใช้ชีวิตแบบนี้ทำให้สุขภาพของเขาทรุดโทรมอย่างหนัก รอยยิ้มขมขื่นปรากฎบนใบหน้า เมื่อเขานึกย้อนกลับไปปี 2522 อันเป็นช่วงที่เกือบเสียชีวิตเพราะพิษยาเสพติด "ตอนนั้นผมอยู่อเมริกาและต้องเข้าโรงพยาบาลรักษาแผลในกระเพาะ ซึ่งมีแผลหนึ่งแตกและตกเลือด ใครๆคิดว่าผมคงจะตายในรถพยาบาล ส่วนผมคิดว่า จะออกจากรถไปหาเหล้าดื่มได้ยังไง"
"หลังดื่มเสร็จ ผมจะถือขวดวอดก้า เครื่องเล่นเทป กีต้าร์และปืนลูกซองไปที่เตียง ทั้งหมดเป็นของเล่นก่อนเข้านอน ผมชอบใส่ลูกปืนขึ้นลำกล้อง แล้วอมปากกระบอกปืนไว้ในลักษณะที่สามารถยิงสมองตัวเองกระจายได้ทันที จากนั้นผมก็จะคิดว่า ถ้าฆ่าตัวตาย เราก็หมดโอกาสดื่มอีกต่อไป เดี๋ยวนี้ผมเรียกวิธีคิดแบบนั้นว่าเสียสติ"
เรานั่งคุยกันตรงมุมเงียบในคลินิกซึ่งมองออกไปเห็นอ่าว บริเวณนี้โขดหินระเกะระกะ ไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งต้องการพักผ่อนแถบชายหาด ความสงบเงียบชวนให้เคลิบเคลิ้มขณะที่แคล็ปตันใช้ความคิด
"โรคพิษสุราเรื้อรังนั้นจะมองว่าเป็นชนักติดหลังหรือเป็นของขวัญชิ้นใหญ่สำหรับผมก็ได้ แต่ผมเห็นว่าเป็นของขวัญเพราะไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองผิดปกติจนกระทั่งเลิกเหล้า ระหว่างนั้นผมคิดว่าตัวเองเป็นบ้าเป็นคนเลวมากๆ ตอนที่หมอบอกว่าผมป่วย ผมนึกในใจว่า ไม่เป็นไร อาการเราไม่หนักไปกว่าคนที่เป็นมะเร็งหรือเบาหวานหรอก แถมยังโชคดีตรงที่สามารถรักษาตัวได้"
แคล็ปตันคิดจะหันหลังให้เกาะอันติกัวหลังจากรู้ว่าดื่มเหล้าและเสพยาไม่ได้อีกแล้ว "ผมคิดว่าคงไม่ปลอดภัยแน่ๆ หากอยู่รักษาตัวที่นี่ ตอนนั้นเองที่ผมเริ่มมองเห็นปัญหาของผู้ติดยาคนอื่นๆ"
เรานั่งคุยกันตรงมุมเงียบในคลินิกซึ่งมองออกไปเห็นอ่าว บริเวณนี้โขดหินระเกะระกะ ไม่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวซึ่งต้องการพักผ่อนแถบชายหาด ความสงบเงียบชวนให้เคลิบเคลิ้มขณะที่แคล็ปตันใช้ความคิด
"โรคพิษสุราเรื้อรังนั้นจะมองว่าเป็นชนักติดหลังหรือเป็นของขวัญชิ้นใหญ่สำหรับผมก็ได้ แต่ผมเห็นว่าเป็นของขวัญเพราะไม่เคยรู้เลยว่าตัวเองผิดปกติจนกระทั่งเลิกเหล้า ระหว่างนั้นผมคิดว่าตัวเองเป็นบ้าเป็นคนเลวมากๆ ตอนที่หมอบอกว่าผมป่วย ผมนึกในใจว่า ไม่เป็นไร อาการเราไม่หนักไปกว่าคนที่เป็นมะเร็งหรือเบาหวานหรอก แถมยังโชคดีตรงที่สามารถรักษาตัวได้"
แคล็ปตันคิดจะหันหลังให้เกาะอันติกัวหลังจากรู้ว่าดื่มเหล้าและเสพยาไม่ได้อีกแล้ว "ผมคิดว่าคงไม่ปลอดภัยแน่ๆ หากอยู่รักษาตัวที่นี่ ตอนนั้นเองที่ผมเริ่มมองเห็นปัญหาของผู้ติดยาคนอื่นๆ"
อาชญากรรมร้อยละ 70 บนเกาะอันติกัวมีสาเหตุมาจากการเมาสุราและยาเสพติด แต่รัฐบาลมีงบประมาณด้านการบริการสังคมน้อย และไม่เห็นความสำคัญของการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดยามากนัก ตามวิธีที่ปฏิบัติกันมา คนเมาเหล้าแล้วก่อความวุ่นวายจะถูกกักไว้ในโรงพยาบาลราว 2-3 สัปดาห์เพื่อให้หมดเชื้อ แต่แคล็ปตันเชื่อว่ายังมีวิธีอื่น
ตอนที่แคล็ปตันเริ่มมองหาวิธีบำบัดการดื่มจัดในปี 2525 เขาเดินทางไปยังคลินิกแห่งหนึ่งในรัฐมินนิโซตาซึ่งเป็นศูนย์ฟื้นฟูชั้นนำของโลกในขณะนั้น แต่ก็หวนกลับไปดื่มอีกในเวลาต่อมา ก่อนจะเลิกเด็ดขาดในปี 2530
เมื่อย้อนกลับไปที่คลินิกอีกครั้ง ผมรู้เลยว่าต้องตายแน่ ถ้าไม่ยอมศิโรราบให้วิธีเลิกดื่ม 12 ขั้นตอน และสิ่งหนึ่งที่ต้องทำใจก็คือการเป็นนักดนตรีก็ช่วยชีวิตไม่ได้ อันที่จริงอาจทำลายชีวิตผมด้วยซ้ำ เพราะถ้าคิดว่าจำเป็นต้องดื่มเหล้าจึงจะเขียนเพลงได้ การเป็นนักดนตรีก็ไม่ใช่เรื่องน่าพิสมัยเลย
"สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตผมคือต้องเลิกเหล้าและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ หากทำเช่นนั้น ผมก็จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นและจะช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย"
นี่เป็นบทบาทที่แคล็ปตันเริ่มต้นราวหกปีก่อนที่โรงพยาบาลทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน ซึ่งเข้ารับการบำบัดช่วงสามปีต่อมาเขาเริ่มแวะเวียนไปโรงพยาบาลแห่งนี้ทุกวัน และพูดคุยกับคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือไม่กล้าเข้าร่วมการบำบัดแบบเป็นกลุ่ม
"งานนี้เหมือนการแสดงบนเวทีตรงที่ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งโต้ตอบทันควันและทุ่มเทเต็มที่โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งเข้ามาร่วมกลุ่ม" แคล็ปตันบอก "ผู้มาใหม่ต้องยอมรับว่าเคยทำผิดมหันต์หรือไม่ชีวิตก็พังพินาศไปแล้ว"
ทั้งแคล็ปตันและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพยายามชั่งน้ำหนักว่า ความเป็นคนดังของเขาจะทำให้ผู้รับการบำบัดรู้สึกอึดอัดใจหรือไม่
"สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตผมคือต้องเลิกเหล้าและมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ หากทำเช่นนั้น ผมก็จะเป็นตัวอย่างให้คนอื่นและจะช่วยเหลือคนอื่นได้ด้วย"
นี่เป็นบทบาทที่แคล็ปตันเริ่มต้นราวหกปีก่อนที่โรงพยาบาลทางตอนใต้ของกรุงลอนดอน ซึ่งเข้ารับการบำบัดช่วงสามปีต่อมาเขาเริ่มแวะเวียนไปโรงพยาบาลแห่งนี้ทุกวัน และพูดคุยกับคนที่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือไม่กล้าเข้าร่วมการบำบัดแบบเป็นกลุ่ม
"งานนี้เหมือนการแสดงบนเวทีตรงที่ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งโต้ตอบทันควันและทุ่มเทเต็มที่โดยเฉพาะกับคนที่เพิ่งเข้ามาร่วมกลุ่ม" แคล็ปตันบอก "ผู้มาใหม่ต้องยอมรับว่าเคยทำผิดมหันต์หรือไม่ชีวิตก็พังพินาศไปแล้ว"
ทั้งแคล็ปตันและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพยายามชั่งน้ำหนักว่า ความเป็นคนดังของเขาจะทำให้ผู้รับการบำบัดรู้สึกอึดอัดใจหรือไม่
เราจะพิจารณาเป็นรายๆไป คนที่อึดอัดหรือเสียสมาธิก็มี แต่บางครั้งก็ช่วยให้คนเข้าใจปัญหาดีขึ้น เพราะผมสามารถพูดได้ว่า "คุณรู้ไหม ผมมีเงินทองมากมาย อาชีพการงานดีเยี่ยม และมีเพลงติดอันดับเยอะแยะ แต่ก็ยังอยากฆ่าตัวตาย" สีหน้าของพวกเขาบอกผมว่า ถ้อยคำเช่นนี้ช่วยให้เขารู้สึกมั่นใจมากขึ้น
ปี 2534 โคเนอร์ ลูกชายวัยสี่ขวบของแคล็ปตันพลัดตกจากหน้าต่างตึกระฟ้าเสียชีวิตในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเหตุการณ์สะเทือนใจมากที่สุดในชีวิต แต่ก็ช่วยให้ความรู้สึกผูกพันกับเกาะอันติกัวแนบแน่นลึกซึ้งขึ้น
"ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงดื่มให้เมาแล้วโยนความผิดให้สังคม โชคดีมากที่ตอนนั้นผมเลิกเหล้ามาสามปีแล้ว และรู้วิธีประคองตัวให้ผ่านช่วงวิกฤตมาได้โดยไม่ทำอะไรบ้าๆ"
แคล็ปตันกลับไปเขียนเพลงอีกครั้งที่เกาะอันติกัว "การเขียนเพลงติดๆกันหลายเพลง ช่วยให้ผมเอาชีวิตรอดมาได้และเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด" แคล็ปกล่าวว่า "เพลง Tears in Heaven, My Father's Eyes และ The Circus Left Town ล้วนพูดถึงลูกชายและประสบการณ์ชีวิตครอบครัวของผม"
เมื่อห้าปีก่อน แคล็ปตันกับเจ้าของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัวในอังกฤษวางแผนจะเปิดคลินิกบำบัดฟื้นฟูหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งที่เกาะอันติกัว แต่ภายหลังเจ้าของกลับขายโรงพยาบาลและปล่อยให้แคล็ปตันเคว้งคว้างไม่รู้จะทำอย่างไร ทั้งที่ทุ่มเงินลงทุนไปแล้วถึงสี่ล้านปอนด์หรือราว 240 ล้านบาท
"ผมต้องตัดสินใจว่าจะเสี่ยงเดินหน้าต่อไปทั้งที่ไม่ค่อยรู้เรื่องธุรกิจหรือจะถอนตัว" แคล็ปตันเล่า "หากถอนตัว ผมก็คงกลับอันติกัวอีกไม่ได้ เพราะสัญญากับชาวบ้านไว้แล้วว่าจะให้ความช่วยเหลือ"
ปี 2534 โคเนอร์ ลูกชายวัยสี่ขวบของแคล็ปตันพลัดตกจากหน้าต่างตึกระฟ้าเสียชีวิตในนครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นเหตุการณ์สะเทือนใจมากที่สุดในชีวิต แต่ก็ช่วยให้ความรู้สึกผูกพันกับเกาะอันติกัวแนบแน่นลึกซึ้งขึ้น
"ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็คงดื่มให้เมาแล้วโยนความผิดให้สังคม โชคดีมากที่ตอนนั้นผมเลิกเหล้ามาสามปีแล้ว และรู้วิธีประคองตัวให้ผ่านช่วงวิกฤตมาได้โดยไม่ทำอะไรบ้าๆ"
แคล็ปตันกลับไปเขียนเพลงอีกครั้งที่เกาะอันติกัว "การเขียนเพลงติดๆกันหลายเพลง ช่วยให้ผมเอาชีวิตรอดมาได้และเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัด" แคล็ปกล่าวว่า "เพลง Tears in Heaven, My Father's Eyes และ The Circus Left Town ล้วนพูดถึงลูกชายและประสบการณ์ชีวิตครอบครัวของผม"
เมื่อห้าปีก่อน แคล็ปตันกับเจ้าของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัวในอังกฤษวางแผนจะเปิดคลินิกบำบัดฟื้นฟูหลายแห่งทั่วโลก รวมทั้งที่เกาะอันติกัว แต่ภายหลังเจ้าของกลับขายโรงพยาบาลและปล่อยให้แคล็ปตันเคว้งคว้างไม่รู้จะทำอย่างไร ทั้งที่ทุ่มเงินลงทุนไปแล้วถึงสี่ล้านปอนด์หรือราว 240 ล้านบาท
"ผมต้องตัดสินใจว่าจะเสี่ยงเดินหน้าต่อไปทั้งที่ไม่ค่อยรู้เรื่องธุรกิจหรือจะถอนตัว" แคล็ปตันเล่า "หากถอนตัว ผมก็คงกลับอันติกัวอีกไม่ได้ เพราะสัญญากับชาวบ้านไว้แล้วว่าจะให้ความช่วยเหลือ"
แล้วเขาก็พบกับ แอน แวนซ์ ซึ่งทำงานอยู่กับสมาคมยุโรปเพื่อการบำบัดผู้ติดยาในกรุงลอนดอน เธอมีประสบการณ์สูงในเรื่องการบำบัดผู้ติดยาและเคยเป็นผู้บริหารของคลินิกเบตตีฟอร์ดในรัฐแคลิฟอร์เนีย
แคล็ปตันกับแวนซ์เริ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการบริหารคลินิก ทั้งสองเห็นพ้องกันว่าจะไม่แสวงหากำไรจากผู้ป่วย จะหาทางเปิดคลินิกครอสโรดส์และบริหารองค์กรนี้ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ พร้อมๆกับช่วยประชาชนของเกาะอันติกัวและประเทศอื่นๆในย่านทะเลแคริบเบียน หากได้คนไข้จากทวีปยุโรปและอเมริกาโดยคิดค่าบำบัดรายละ 9,000 เหรียญต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าศูนย์บำบัดระดับเดียวกันกว่าครึ่ง คลีนิกซึ่งจุได้ทั้งหมด 36 เตียงก็คงมีรายได้มากพอที่จะจัดเตียงสำหรับบำบัดชาวพื้นเมืองถึง 12 เตียงโดยไม่คิดค่าบริการ
แคล็ปตันกับแวนซ์เริ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านการบริหารคลินิก ทั้งสองเห็นพ้องกันว่าจะไม่แสวงหากำไรจากผู้ป่วย จะหาทางเปิดคลินิกครอสโรดส์และบริหารองค์กรนี้ให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้ พร้อมๆกับช่วยประชาชนของเกาะอันติกัวและประเทศอื่นๆในย่านทะเลแคริบเบียน หากได้คนไข้จากทวีปยุโรปและอเมริกาโดยคิดค่าบำบัดรายละ 9,000 เหรียญต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าศูนย์บำบัดระดับเดียวกันกว่าครึ่ง คลีนิกซึ่งจุได้ทั้งหมด 36 เตียงก็คงมีรายได้มากพอที่จะจัดเตียงสำหรับบำบัดชาวพื้นเมืองถึง 12 เตียงโดยไม่คิดค่าบริการ
นับถึงปัจจุบัน มีชาวพื้นเมืองเข้ารับการบำบัดกว่า 25 คน แต่ระหว่างเปิดให้บริการเจ้าหน้าที่ของครอสโรดส์พบว่าจำเป็นต้องมีบ้านพักชั่วคราวตามที่เซอร์วิเวียน ริชาร์ดกล่าวถึงในสุนทรพจน์ข้างต้น เพื่อให้ผู้ผ่านการบำบัดไม่ต้องหวนกลับไปอยู่บ้านที่เคยหัดดื่มเหล้าตั้งแต่เด็ก
"ผมพร้อมจะล่มจมเพราะเรื่องนี้ เพราะทำด้วยใจ" แคล็ปตันบอก "ถ้าเราช่วยให้คนคนหนึ่งเลิกดื่มได้ เงินทุกสตางค์ที่เสียไปก็นับว่าคุ้มค่ายิ่ง เพราะชีวิตคนเป็นสิ่งไม่อาจประเมินค่าได้"
เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว แคล็ปตันหาทุนเพิ่มได้ 3 ล้านปอนด์หรือราว 180 ล้านบาทจากการจัดประมูลกีต้าร์ 100 ตัว รวมทั้งกีต้าร์ที่ใช้เล่นเพลงยอดนิยม Layla ซึ่งได้ราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 316,879 ปอนด์ หรือราว 19 ล้านบาท
"ผมพร้อมจะล่มจมเพราะเรื่องนี้ เพราะทำด้วยใจ" แคล็ปตันบอก "ถ้าเราช่วยให้คนคนหนึ่งเลิกดื่มได้ เงินทุกสตางค์ที่เสียไปก็นับว่าคุ้มค่ายิ่ง เพราะชีวิตคนเป็นสิ่งไม่อาจประเมินค่าได้"
เมื่อเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว แคล็ปตันหาทุนเพิ่มได้ 3 ล้านปอนด์หรือราว 180 ล้านบาทจากการจัดประมูลกีต้าร์ 100 ตัว รวมทั้งกีต้าร์ที่ใช้เล่นเพลงยอดนิยม Layla ซึ่งได้ราคาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 316,879 ปอนด์ หรือราว 19 ล้านบาท
แคล็ปตันยอมรับว่าโครงการนี้อาจทำให้ต้องสูญเสียทรัพย์สินที่มีอยู่ทั้งหมด แล้วเข้าไม่วิตกบ้างเลยหรือ "แน่นอน แต่ถ้าเอาเงินทั้งหมดไปกินเหล้า ก็จะถังแตกหนักเข้าไปอีก แถมยังทำลายสุขภาพถึงตายด้วย" นักกีต้าร์เพลงร็อกกล่าว "ถ้าเลิกดื่มเหล้าและขาดทุนหมดตัว ผมก็ยังเริ่มนับหนึ่งใหม่ได้ ผมทำได้แน่หากไม่แตะต้องสิ่งเสพติดอีก"