ฆ่าล้าง
เผ่าพันธุ์ลิง
พวกนักล่ากำลังทำลายล้างสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญสู่การรักษาโรคเอดส์
ลึกเข้าไปใจกลางป่าแอฟริกา ชิ้นเนื้อของกอริลล่าสามตัวกำลังถูกรมควันอยู่เหนือกองไฟนอกกระท่อมของ ดีเยอ-ดอนเน บีมา บีมา "ผมยิงตัวผู้ขนาดใหญ่ตอนที่มันกระโจนเข้าใส่" พรานหนุ่มอวดอย่างลิงโลด "ส่วนตัวเมียมีลูกเกาะอยู่บนหลัง พอผมยิงแม่กระสุดเลยเจาะเข้าที่หัวของลูกด้วย กระสุนนัดเดียวได้กอริลล่าสองตัว"
เมื่อเห็นว่าผู้ฟังทำท่าขยะแขยง บีมา บีมาเลยพูดกลั้วหัวเราะว่า "ทำไมพวกคุณต้องมาสนใจกอริลล่าพวกนี้ด้วย มันก็เป็นแค่สัตว์เท่านั้น"
เมื่อเห็นว่าผู้ฟังทำท่าขยะแขยง บีมา บีมาเลยพูดกลั้วหัวเราะว่า "ทำไมพวกคุณต้องมาสนใจกอริลล่าพวกนี้ด้วย มันก็เป็นแค่สัตว์เท่านั้น"
ลิงขนาดใหญ่รูปร่างคล้ายมนุษย์อย่างกอริลล่าและชิมแปนซีซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกากำลังถูกไล่ล่าอย่างหนัก บีมา บีมาขายเนื้อกอริลล่าขนาดใหญ่ได้ตัวละ 20 - 30 เหรียญ ส่วนชิมแปนซีโตเต็มวัยก็ได้ราคาพอๆกัน
นักอนุรักษ์หนักใจกับเรื่องนี้เพราะต้องการหยุดยั้งการล่ากอริลล่าให้เร็วที่สุดหลังจากนักวิทยาศาสตร์ค้นพบเมื่อต้นปี 2542 ว่าเชื้อ HIV-1 ซึ่งเป็นไวรัสเอดส์ที่พบมากที่สุดแพร่มาจากชิมแปนซีแอฟริกันพันธุ์ที่เรียกว่า โทรโกลไดต์ (Troglodytes) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเชื้อไวรัสน่าจะติดต่อมาสู่มนุษย์โดยผ่านพรานซึ่งได้รับเชื้อขณะแล่หรือกินเนื้อลิงสดๆ ในเมื่อชิมแปนซีไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยจากไวรัสชนิดนี้ นักวิทยาศาสตร์จึงคิดว่าพวกมันน่าจะเป็นกุญแจไปสู่หนทางในการรักษาโรคเอดส์ แต่ก่อนอื่นต้องช่วยให้ลิงเหล่านี้อยู่รอดเพื่อการศึกษาค้นคว้า
ขณะนี้มีชิมแปนซีพันธุ์โทรโกลไดต์เหลือไม่ถึง 120,000 ตัว ซ้ำยังถูกฆ่าปีละนับพันๆตัวและการสืบพันธุ์ก็ช้ากว่ามนุษย์ แม่ลิงต้องใช้เวลาสี่ปีถึงจะตกลูกสักตัว
นักวิจัยอยากรู้มากว่าทำไมไวรัสเอดส์จึงไม่ฆ่าลิง ซึ่งเป็นพาหะ และเชื้อไวรัสนี้ระบาดไปกว้างขวางเพียงไรในป่า โดยอาจตรวจสอบจากตัวอย่างมูลที่เก็บรวบรวมจากพื้นป่า ดร.เบียทริซ เอช. ฮาน หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอละแบมา กล่าวว่า "เราต้องการข้อมูลเรื่องนี้ การฆ่าชิมแปนซีเอาเนื้อไปขายก็เหมือนการเผาห้องสมุดซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือที่ยังไม่ได้อ่าน"
นักวิจัยอยากรู้มากว่าทำไมไวรัสเอดส์จึงไม่ฆ่าลิง ซึ่งเป็นพาหะ และเชื้อไวรัสนี้ระบาดไปกว้างขวางเพียงไรในป่า โดยอาจตรวจสอบจากตัวอย่างมูลที่เก็บรวบรวมจากพื้นป่า ดร.เบียทริซ เอช. ฮาน หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอละแบมา กล่าวว่า "เราต้องการข้อมูลเรื่องนี้ การฆ่าชิมแปนซีเอาเนื้อไปขายก็เหมือนการเผาห้องสมุดซึ่งเต็มไปด้วยหนังสือที่ยังไม่ได้อ่าน"
นักอนุรักษ์เคยเข้าใจผิดว่า พวกพรานฆ่าลิงตัวใหญ่เพื่อนำลูกไปขาย แต่ความจริงแล้วลูกลิงเป็นผลพลอยได้จากการฆ่าพ่อแม่เพื่อเอาเนื้อไปขายเป็นอาหารป่าให้พวกผู้มีอันจะกินในประเทศแคเมอรูน กาบอง คองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และประเทศอื่นๆ
แม้การล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์จะเป็นเรื่องผิดกฏหมาย แต่เจ้าหน้าที่ก็มักเพิกเฉย ในประเทศแคเมอรูน ตลาดค้าสัตว์ป่าในกรุงยาอุนเด ตั้งอยู่ห่างจากทำเนียบประธานาธิปดีเพียง 150 เมตรและค้าขายเนื้อสัตว์ป่ากันอย่างเปิดเผย
ขณะที่คนขายเนื้อสัตว์ป่าแกว่งแส้ไล่แมลงบนโต๊ะซึ่งมีทั้งเนื้อลิงสดและรมควัน เนื้อแอนทีโลป หมูป่า และหนังงูกองโต ก็จะมีกลุ่มนักเลงยืนคุ้มกันให้ ด้านหลังแผงเนื้อเต็มไปด้วยกระดูกท่อนแขนยาวๆ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นกระดูกชิมแปนซีและกอริลล่า
"อยากให้ลูกโตแข็งแรง ต้องให้กินเนื้อกอริลล่า"
เอรี บาโยอิ พ่อค้าแผงลอย บอก
"ถ้ากระดูกหักก็เอากะโหลกชิมแปนซีร้อนๆ
มากดไว้ตรงรอยหัก"
เขาอ้างด้วยว่า
"มือชิมแปนซีช่วยแก้ปวดท้องได้"
คาร์ล อัมมาน เป็นชาวสวิสซึ่งเคยตระเวนถ่ายภาพลิงชนิดต่างๆในแอฟริกาก่อนจะกลายมาเป็นหัวหน้ากลุ่มต่อต้านการค้าสัตว์ป่าและเปิดโปงพฤติกรรมการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายในหลายประเทศจนรัฐบาลประเทศเหล่านั้นประกาศให้เขาเป็นบุคคลต้องห้ามเข้าประเทศ
"พวกกลุ่มอนุรักษ์ใหญ่ๆบอกว่า มีแต่พวกคนป่าจนๆเท่านั้นที่กินเนื้อสัตว์ป่า แต่คุณดูคนที่มาจ่ายตลาดสิ เป็นชนชั้นกลางแต่งตัวดีๆกันทั้งนั้น" อัมมานบอกขณะเดินผ่านตลาด "คนพวกนี้ไม่กินเนื้อวัวหรือเนื้อไก่เพราะอ้างว่าเป็นเนื้อสัตว์สำหรับคนขาว"
แคเมอรูนเพิ่งจัดตั้งอุทยานใหม่ 3 แห่งเพื่อคุ้มครองประชากรลิง รวมทั้งสัตว์ป่าและพืชพรรณอื่นๆ แต่รายงานของคณะสำรวจจากองค์กรนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ ระบุว่า มีแคมป์ล่าสัตว์ราว 100 แห่งกระจายอยู่ในพื้นที่กว่า 8,500 ตารางกิโลเมตรในเขตสงวนทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศ "แม้ยุโรปจะให้เงินสนับสนุนเพื่อการอนุรักษ์ในดินแดนแถบนี้อย่างต่อเนื่อง แต่สัตว์ที่มีอยู่เฉพาะถิ่นก็ยังคงถูกล่าจนตกอยู่ในสภาวะวิกฤต" เจ้าหน้าที่ขององค์กรอนุรักษ์ให้ความเห็น
การตัดไม้ทำลายป่าและฉ้อราษฎร์บังหลวงมีผลให้ขบวนการค้าสัตว์ป่าขยายตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อราคากาแฟและโกโก้ตกต่ำ ไม้ซุงก็กลายเป็นสินค้าออก ที่ทำเงินได้มากมาย ขณะที่พวกทำไม้ตัดถนนโยงเข้าไปในป่าฝน เพื่อตัดไม้เนื้อแข็งอายุราว 800 ปี พวกพรานทำหน้าที่ชักลากซุงพร้อมทั้งดักและยิงสัตว์ป่าทุกชนิดที่พบเห็น
แทนที่จะซื้อเนื้อสัตว์ส่งไปให้คนงานที่พักอยู่ในแคมป์กลางป่า บริษัททำไม้บางแห่งกลับสนับสนุนให้ล่าสัตว์มาเป็นอาหาร รถบรรทุกซุงนับร้อยกลายเป็นขบวนคาราวานขนเนื้อสัตว์ป่า ถุงเปื้อนเลือดซึ่งบรรจุเนื้อสัตว์อยู่ภายในสามารถมองเห็นได้ที่ท้ายรถ
รัฐบาลไม่มีนโยบายหยุดยั้งการล่าสัตว์อย่างจริงจัง พรานยังคงเช่าปืนจากทหารและตำรวจ แม้จะมีด่านอยู่ทั่วไปเพื่อตรวจจับเนื้อสัตว์ป่าที่ลักลอบขนมา แต่ตำรวจก็ปล่อยผู้ทำผิดกฎหมายเพื่อแลกกับสินบนเล็กๆน้อยๆ ซ้ำร้ายเจ้าหน้าที่รัฐบาลยังสั่งให้จัดอาหารป่าเวลามีงานเลี้ยง
"ฟางเผารมควันกอริลล่าเพศผู้"
ชาวแคเมอรูนเองก็ยอมรับว่าปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ "เมื่อผมมาที่นี่ใหม่ๆ การล่าสัตว์ป่าเป็นเรื่องผิดกฎหมาย" เจ้าหน้าที่อนุรักษ์ซึ่งดูแลพื้นที่แคมป์ในกาบองบอก "ตอนนั้นเรายังมีปืน รถ และกระสุนคอยปราบปราม แต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจ รัฐบาลก็ไม่ให้เครื่องไม้เครื่องมืออะไรให้เลย เราจึงทำงานไม่ได้อย่างเต็มที่"
แต่ก็ยังมีหวังอยู่บ้างเมื่อบีมา บีมา และพรานคนอื่นๆเข้าร่วมโครงการที่อัมมานริเริ่ม โดยหวังว่าจะได้พบฝูงกอริลล่าเพื่อที่มนุษย์จะสามารถปกป้องและสร้างความคุ้นเคยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการจัดทำโครงการ "กอริลล่าเพื่อการท่องเที่ยว" แบบที่ทำอยู่ในประเทศยูกันดาจะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศ
โจเซฟ เมลโลห์ พรานคนแรกที่อัมมานสามารถชักจูงให้มาร่วมงานด้วยจะเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ "ผมเคยคิดว่ากอริลล่ามีเนื้อหนังแต่ไม่มีจิตใจ" เขาบอก "แต่เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้วว่า ถ้าฆ่ากอริลล่า เราก็หากินได้แค่สั้นๆ ถ้าดูแลสัตว์พวกนี้ต่อไป อีกสัก 30 ปีและชวนนักท่องเที่ยวให้มาดู เราก็จะได้เงินมากขึ้นหลายเท่า แถมไม่ต้องคอยแบกฟืนไปย่างเนื้อพวกมันด้วย"
แม้การเปลี่ยนทัศนคติของชาวแอฟริกาให้เลิกกินเนื้อลิงจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังพอทำได้เหมือนชาวญี่ปุ่นที่ชอบกินเนื้อปลาวาฬ แต่ก็พากันเลิกกินเมื่อปลาวาฬใกล้สูญพันธุ์ อีกไม่นานการอนุรักษ์ชิมแปนซีอาจเป็นเรื่องสำคัญกว่าการอนุรักษ์ปลาวาฬ ช้างหรือแรดก็เป็นได้
แต่ก็ยังมีหวังอยู่บ้างเมื่อบีมา บีมา และพรานคนอื่นๆเข้าร่วมโครงการที่อัมมานริเริ่ม โดยหวังว่าจะได้พบฝูงกอริลล่าเพื่อที่มนุษย์จะสามารถปกป้องและสร้างความคุ้นเคยด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าการจัดทำโครงการ "กอริลล่าเพื่อการท่องเที่ยว" แบบที่ทำอยู่ในประเทศยูกันดาจะช่วยสร้างรายได้ให้ประเทศ
โจเซฟ เมลโลห์ พรานคนแรกที่อัมมานสามารถชักจูงให้มาร่วมงานด้วยจะเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ "ผมเคยคิดว่ากอริลล่ามีเนื้อหนังแต่ไม่มีจิตใจ" เขาบอก "แต่เดี๋ยวนี้ผมรู้แล้วว่า ถ้าฆ่ากอริลล่า เราก็หากินได้แค่สั้นๆ ถ้าดูแลสัตว์พวกนี้ต่อไป อีกสัก 30 ปีและชวนนักท่องเที่ยวให้มาดู เราก็จะได้เงินมากขึ้นหลายเท่า แถมไม่ต้องคอยแบกฟืนไปย่างเนื้อพวกมันด้วย"
แม้การเปลี่ยนทัศนคติของชาวแอฟริกาให้เลิกกินเนื้อลิงจะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ยังพอทำได้เหมือนชาวญี่ปุ่นที่ชอบกินเนื้อปลาวาฬ แต่ก็พากันเลิกกินเมื่อปลาวาฬใกล้สูญพันธุ์ อีกไม่นานการอนุรักษ์ชิมแปนซีอาจเป็นเรื่องสำคัญกว่าการอนุรักษ์ปลาวาฬ ช้างหรือแรดก็เป็นได้
การศึกษาลิงพวกนี้จะช่วยให้ค้นพบยารักษาหรือวัคซีนป้องกันเอดส์ได้หรือไม่นั้น ไม่มีใครรับรองได้ แต่ที่รู้แน่ๆคือ คงไม่พบหนทางรักษาโรคนี้แน่หากชิมแปนซีสูญพันธุ์