เหตุใดสัตว์คู่บ้านคู่เมืองจึงต้องมาเร่ร่อน ขอทานตามถนน
เดือนพฤศจิกายนของทุกปี มีการจัดงานแสดงช้างที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อระลึกว่าครั้งหนึ่งเคยมีช้างชุกชุมในประเทศไทย กว่า 700 ปีมาแล้วที่คนไทยอาศัยช้างเป็นพาหนะ ช่วยทำศึกสงคราม ชักลากไม้ในป่าลึก ทั้งยังเป็นสัตว์คู่บารมีพระเจ้าแผ่นดินและเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญ
เดือนพฤศจิกายนของทุกปี มีการจัดงานแสดงช้างที่จังหวัดสุรินทร์เพื่อระลึกว่าครั้งหนึ่งเคยมีช้างชุกชุมในประเทศไทย กว่า 700 ปีมาแล้วที่คนไทยอาศัยช้างเป็นพาหนะ ช่วยทำศึกสงคราม ชักลากไม้ในป่าลึก ทั้งยังเป็นสัตว์คู่บารมีพระเจ้าแผ่นดินและเป็นส่วนหนึ่งในพระราชพิธีสำคัญ
ครั้นเริ่มการแสดง ควาญพร้อมด้วยช้างที่ผ่านการฝึกอย่างดีประมาณ 140 เชือกก็ยาตรามาแสดงพลังของช้าง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยทำหน้าที่บุกทะลวงป้อมค่ายข้าศึก เสียงกลองเร่งเร้าให้เหล่านักรบบนหลังช้างเกิดความฮึกเหิม ควงหอกตะลุยไปข้างหน้า พร้อมกับจตุลัคบาทซึ่งเป็นเสนาประจำสี่เท้าของช้าง หลังบุกยึดที่มั่นของศัตรูสำเร็จ กษัตริย์ผู้ทรงมีชัยเหนืออริราชศัตรู ก็ปรากฏพระองค์บนคอช้างที่ประดับด้วยภูษางานวิจิตร โฆษกประกาศให้ผู้ชมนับพันทราบทั่วกันว่า "ภาพที่เพิ่งผ่านสายตาไปนี้ ในปัจจุบันจะหาชมได้เฉพาะตามจิตรกรรมฝาฝนังในวัดเก่าแก่เท่านั้น"
ทุกวันนี้ ภาพชีวิตของช้างไทยเหมือนอยู่ในฝันร้าย ขณะที่ช้างเอเชียกำลังจะสูญพันธุ์เนื่องจากป่าที่อยู่อาศัยลดลง จำนวนช้างป่าลดลงเหลือไม่ถึง 45,000 ตัว ในประเทศไทยมีช้างเพียง 1,350 เชือกที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างเสรี ส่วนที่เหลืออีก 2,500 เชือกต้องทรมานเพราะถูกกักขัง ทั้งที่เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนมีช้างหลายแสนตัวกระจัดกระจายอยู่ในป่าทวีปเอเชีย แต่เนื่องจากเป็นสัตว์ใช้งาน ช้างจึงถูกจับอย่างแพร่หลาย บางครั้งจับทั้งโขลง ปัจจุบันบางตัวถูกบังคับให้ทำงานจนตาย
ทุกวันนี้ ภาพชีวิตของช้างไทยเหมือนอยู่ในฝันร้าย ขณะที่ช้างเอเชียกำลังจะสูญพันธุ์เนื่องจากป่าที่อยู่อาศัยลดลง จำนวนช้างป่าลดลงเหลือไม่ถึง 45,000 ตัว ในประเทศไทยมีช้างเพียง 1,350 เชือกที่ใช้ชีวิตอยู่อย่างเสรี ส่วนที่เหลืออีก 2,500 เชือกต้องทรมานเพราะถูกกักขัง ทั้งที่เมื่อประมาณ 100 ปีก่อนมีช้างหลายแสนตัวกระจัดกระจายอยู่ในป่าทวีปเอเชีย แต่เนื่องจากเป็นสัตว์ใช้งาน ช้างจึงถูกจับอย่างแพร่หลาย บางครั้งจับทั้งโขลง ปัจจุบันบางตัวถูกบังคับให้ทำงานจนตาย
ที่โรงพยาบาลช้างของศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยในจังหวัดลำปาง สัตวแพทย์กำลังบำบัดพังคำมีให้เลิกติดยาบ้า ใกล้ๆกันนั้น สีดอคำหล้าเพิ่งพักฟื้นจากบาดแผลเหวอะหวะบริเวณสะโพกกับขา ขณะเดียวกันที่ริมสนามหญ้าโรงพยาบาล คนงานสี่คนช่วยกันใช้ท่อนไม้ใหญ่งัดร่างช้างชื่อสุพรรณให้ยันกายลุกขึ้น ช้างเพศเมียอายุ 40 ปีถูกพวกลักลอบทำไม้ทอดทิ้งจนผอมโซ
โรงพยาบาลช้างแห่งนี้ก่อตั้งในปี 2537 โดยโซไรดา ซาลวาลา นักอนุรักษ์ช้างชื่อดัง ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลทันสมัยสำหรับช้างแห่งแรกในโลก ทั้งยังมีหน่วยรักษาช้างป่วยหนักและหน่วยพักฟื้น รักษาช้างไปแล้วกว่า 300 เชือก ช้างที่อยู่ในความดูแลส่วนหนึ่งได้แก่ ช้างที่เป็นเหยื่อความทารุณและถูกบังคับให้ทำงานหนัก นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเป็นแหล่งพักพิงของช้างกำพร้ากับช้างแก่ปลดระวาง
ในอดีตเจ้าของช้างปฏิบัติต่อช้างด้วยความรักและผูกพัน แต่ทุกวันนี้ พวกลักลอบทำไม้เถื่อนใช้มีดและตะขอบังคับให้ช้างอย่างพังคำมีกับสุพรรณทำงานให้เร็วขึ้น หลายคนให้ช้างกินกล้วยยัดยาบ้าเพียงเพื่อให้มันทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
โรงพยาบาลช้างแห่งนี้ก่อตั้งในปี 2537 โดยโซไรดา ซาลวาลา นักอนุรักษ์ช้างชื่อดัง ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลทันสมัยสำหรับช้างแห่งแรกในโลก ทั้งยังมีหน่วยรักษาช้างป่วยหนักและหน่วยพักฟื้น รักษาช้างไปแล้วกว่า 300 เชือก ช้างที่อยู่ในความดูแลส่วนหนึ่งได้แก่ ช้างที่เป็นเหยื่อความทารุณและถูกบังคับให้ทำงานหนัก นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเป็นแหล่งพักพิงของช้างกำพร้ากับช้างแก่ปลดระวาง
ในอดีตเจ้าของช้างปฏิบัติต่อช้างด้วยความรักและผูกพัน แต่ทุกวันนี้ พวกลักลอบทำไม้เถื่อนใช้มีดและตะขอบังคับให้ช้างอย่างพังคำมีกับสุพรรณทำงานให้เร็วขึ้น หลายคนให้ช้างกินกล้วยยัดยาบ้าเพียงเพื่อให้มันทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
วงการท่องเที่ยวก็มีส่วนเช่นกัน ช้างที่แทบไม่ได้ผ่านการฝึกเดินตุปัดตุเป๋ไปตามเนินเขา ขณะพานักท่องเที่ยวไปชื่นชมกับทัวร์ป่าหลอกๆ เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยวและผู้จัดการแสดงช้างหลายคนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ พรากช้างน้อยน่ารักจากอกแม่ก่อนเวลาอันควร จากนั้นก็เลี้ยงด้วยน้ำนมที่ลูกช้างย่อยไม่ได้ กับผักปนเปื้อนยาฆ่าแมลง ทำให้ช้างป่วยและล้มตายตั้งแต่ยังเล็ก การที่ควาญนำช้างมาส่งโรงพยาบาล เป็นเพียงทางออกหนึ่งแทนการล้มช้างเพื่อชำแหละเนื้อแบ่งกัน
เมื่อยังเด็กไม่ถึงสิบขวบ โซไรดากับพ่อเห็นช้างนอนบาดเจ็บอยู่ริมถนนเพราะถูกรถบรรทุกชน ท้องพะเยิบพะยาบขึ้นลงตามลมหายใจถี่ๆ เจ้าของได้แต่นั่งร้องไห้อยู่ข้างๆ "พามันไปส่งโรงพยาบาลเถอะค่ะพ่อ" โซไรดาอ้อนวอนทั้งที่เป็นไปไม่ได้ ทุกคนหมดปัญญาช่วยชีวิตมัน เธอได้ยินเสียงปืนหนึ่งนัดดังขึ้นขณะพ่อขับรถจากไป จึงถามพ่อว่า "ทำไมช้างต้องมาเดินบนถนนคะ" คำถามนี้ติดค้างในใจเธอมาจนทุกวันนี้
มูลนิธิเพื่อนช้างของโซไรดาเป็นหนึ่งในหน่วยงานเล็กๆที่มีส่วนปลุกกระแสการอนุรักษ์ช้างไทย แต่ต้องประสบปัญหาในการหาเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลช้าง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่าเดือนละ 300,000 บาท โดยได้รับบริจาคจากประชาชน ทุกอย่างในโรงพยาบาลต้องมีขนาดมหึมา ห้องผ่าตัดเป็นโรงเรือนโล่งกว้าง และการรักษาโรคปากเปื่อยซึ่งอาจคร่าชีวิตของช้างต้องใช้ดริบเปิดน้ำเกลือขนาด 200 ซีซี (คนป่วยใช้เพียงขนาด 0.5 ซีซี)
เมื่อยังเด็กไม่ถึงสิบขวบ โซไรดากับพ่อเห็นช้างนอนบาดเจ็บอยู่ริมถนนเพราะถูกรถบรรทุกชน ท้องพะเยิบพะยาบขึ้นลงตามลมหายใจถี่ๆ เจ้าของได้แต่นั่งร้องไห้อยู่ข้างๆ "พามันไปส่งโรงพยาบาลเถอะค่ะพ่อ" โซไรดาอ้อนวอนทั้งที่เป็นไปไม่ได้ ทุกคนหมดปัญญาช่วยชีวิตมัน เธอได้ยินเสียงปืนหนึ่งนัดดังขึ้นขณะพ่อขับรถจากไป จึงถามพ่อว่า "ทำไมช้างต้องมาเดินบนถนนคะ" คำถามนี้ติดค้างในใจเธอมาจนทุกวันนี้
มูลนิธิเพื่อนช้างของโซไรดาเป็นหนึ่งในหน่วยงานเล็กๆที่มีส่วนปลุกกระแสการอนุรักษ์ช้างไทย แต่ต้องประสบปัญหาในการหาเงินทุนสนับสนุนการดำเนินงานของโรงพยาบาลช้าง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่าเดือนละ 300,000 บาท โดยได้รับบริจาคจากประชาชน ทุกอย่างในโรงพยาบาลต้องมีขนาดมหึมา ห้องผ่าตัดเป็นโรงเรือนโล่งกว้าง และการรักษาโรคปากเปื่อยซึ่งอาจคร่าชีวิตของช้างต้องใช้ดริบเปิดน้ำเกลือขนาด 200 ซีซี (คนป่วยใช้เพียงขนาด 0.5 ซีซี)
อย่างเช่นกระบวนการรักษาเมื่อไม่นานมานี้ต้องใช้สัตวแพทย์ 1 คนกับผู้ช่วย 6-7 คน ซึ่งสองคนมีหน้าที่ช่วยกันดันกระบอกเข็มฉีดยายาว 60 เซนติเมตร สัตว์ป่วยเป็นช้างพลายอายุ 64 ปีชื่อบัวทอง ดวงตาเศร้าสร้อยและขนตายาวงอน มันยืนนิ่งขณะทีมงานฉีดแคลเซียมไฮดรอกไซด์ผสมน้ำที่ปลอดเชื้อ เข้าไปในโพรงงาด้านขวา ซึ่งอับเสบมานานกว่าสิบปีเพราะถูกคนใจบาปลอบตัดงาไป "คนไทยถือว่าช้างเป็นเพื่อนมาเป็นร้อยๆปี" นายสัตวแพทย์ปรีชา พวงคำ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลช้าง กล่าวกับผู้มาเยี่ยม หลังให้ยาพลายบัวทองเรียบร้อยแล้ว "ปัจจุบัน เราปฏิบัติต่อช้างเหมือนรถคันหนึ่ง คือเมื่อเสียก็ทิ้งไปหาคันใหม่"